Life Traveller

ศาสนสัมพันธ์ ตอนที่ 8

โดย วรินทร เหมะ | 2 นาที

หลักการทำศาสนสัมพันธ์ ข้อควรปฏิบัติทั้งก่อนและหลัง 

(ต่อจาก ตอนที่ 7)

เขียนโดย วรินทร เหมะ

2. ข้อควรปฏิบัติระหว่างการเสวนา

1. มีมนุษยสัมพันธ์ รู้จักกาลเทศะ

2. ปฏิบัติตามมารยาทไทยและสมบัติผู้ดี

3. รู้จักพูด รู้จักฟัง รู้จักถาม แสดงความสนใจเสมอ

4. ถือธรรมเนียมของศาสนานั้นๆเช่น การใช้ภาษาและถ้อยคำเรียกชื่อเฉพาะต่างๆของศาสนานั้น รู้จักธรรมเนียมการแสดงความเคารพก่อนเข้าโบสถ์  เข้าวัด หรือมัสยิด และประพฤติตัวอย่างเหมาะสมในที่นั้น  หากสิ่งใดไม่รู้หรือไม่แน่ใจว่าต้อบงทำอย่างไร  อย่าตัดสินใจเสี่ยงทำ  แต่จะดีกว่าถ้าสอบถามจากเจ้าของสถานที่นั้นๆหรือศาสนานั้นๆ 

5. ไม่แสดงอาการประหลาดใจหรือกิริยาดูหมิ่นในสิ่งที่แตกต่างจากความเชื่อหรือการปฏิบัติของตน 

6. สำนึกอยู่เสมอว่า  ยังมีอะไรอีกมากมายที่เราไม่รู้ในศาสนาของตนเองและของคู่เสวนา และเราสามารถเรียนรู้จากผู้อื่นได้ ภาษาธรรมที่เราใช้กันนั้นมรความลึกซึ่งและมีความเข้าใจที่แตกต่างกันมาก  จึงจำเป็นต้องมีการซักถามเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน 

7. อธิบายหลักธรรมตามความจริงของศาสนา ไม่ควรคล้อยตามความคิดเห็นหรือความเข้าใจของคู่เสวนาเพื่อเอาใจหรือหลักเลี่ยงการขัดแย้ง  แต่ควรอธิบายความจริงเพื่อจะได้รู้ว่ามีสิ่งที่แตกต่างกัน 

8. ในช่วงเริ่มต้นการเสวนา  จะดีกว่าถ้าพิจารณากันในความเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน  ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของศาสนา  แต่จะแตกต่างกันในส่วนน้อยและคงได้แบ่งปันกันในเมื่อมีความคุ้นเคยหรือมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันแล้ว 

9. รู้จักยอมรับด้วยความสุภาพว่าเราไม่มีความรู้  ความเข้าใจในหลายเรื่องและต้องขอเวลากลับมาศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมขึ้น  อย่ากล้าอธิบายออกไปอย่างมั่วๆ หรือเดาเอาเพราะจะสร้างความเข้าใจผิดๆให้กับคู่เสวนา 

3. ข้อควรปฏิบัติหลังการเสวนา 

1. กลับมาไตร่ตรองสิ่งที่ได้รับรู้  ได้ยิน  ได้ฟัง ได้เห็นเพิ่มขึ้น 

2. กลับมาแสวงหาความรู้  ความเข้าใจจากศาสนาของตนเองในสิ่งที่ตนเองไม่รู้ ไม่แน่ใจ 

3. แบ่งปันความรู้  ความเข้าใจที่ได้แก่เพื่อนพี่น้องด้วยใจกว้าง

สิ่งสำคัญในการเสวนาคือ ต้องรู้จักกาลเทศะมีมารยาท มีสมบัติผู้ดี มีความสนใจ และใส่ใจผู้ร่วมเสวนา ไม่มีการเปรียบเทียบ มีใจเปิดกว้างที่จะยอมรับฟังทุกศาสนาของการเสวนา เมื่อกลับมาจากการเสวนา เราต้องพิจารณาที่สิ่งที่ดำเนินการในวันนั้น ๆ ว่าเราได้ทำสิ่งผิดพลาดไปหรือไม่ หากผิดเราก็จงแก้ไข และเมื่อเราไม่เข้าใจเราควรสอบถามเพื่อความมั่นใจในการเสวนาเพื่อให้ครั้งต่อไปจะได้ไม่มีข้อผิดพลาด