Resources
สาสน์วันเยาวชนโลกถึงเยาวชน
ปี 1999 ครั้งที่ 14
“พระบิดาทรงรักเธอ” (ยอห์น 16 : 27)
เยาวชนที่รัก
- ในวาระที่ปีศักดิ์สิทธิ์ใกล้เข้ามา ปี 1999 เป็นปีที่เรามุ่งที่จะทำให้ความเชื่อของสัตบุรุษเปิดกว้างเพื่อที่จะมองเห็นสิ่งต่างๆ ในมุมมองของพระคริสตเจ้า ใจมุมมองของพระบิดาเจ้า ผู้ซึ่งประทับอยู่บนสวรรค์ ผู้ซึ่งได้ส่งพระเยซูเจ้ามา และ ผู้ที่พระเยซูเจ้าเสด็จกลับไปหา (Tertio Millennio Adveniente, 49) เป็นไปไม่ได้ที่เราจะฉลองพระคริสตเจ้าและปีปิติ มหาการุญ โดยที่ไม่หันหน้าพร้อมกับพระเยซูเจ้าไปหาพระบิดาของพระองค์และพระบิดาของเรา (ยอห์น 27:17) พระจิตเจ้าก็นำเรากลับไปหาพระบิดา และพระเยซูเจ้า ถ้าพระจิตสนเราให้กล่าวว่า “พระเยซูเจ้าเป็นพระเจ้า” (1 โครินธ์ 12:3) พระองค์ก็ทำให้เราสามารถที่จะพูดคุยกับพระเป็นเจ้าและเรียกพระองค์ว่า “อับบา ข้าแต่พระบิดา” (กาลาเทีย 4 : 6)
ข้าพเจ้าขอเชิญชวนพวกเธอเยาวชน ให้หันหน้าเข้าหาพระบิดาพร้อมกับพระศาสนจักร เพื่อที่จะฟังพระองค์ด้วยความกตัญญู และด้วยความพิศวงในการไขแสดงของพระเยซูจ้า “พระบิดาทรงรักเธอ” (ยอห์น 16:20) นี่เป็นข่าวดีที่ข้าพเจ้ามอบให้แก่พวกเธอทั้งหลายเนื่งในโอกาสงานวันเยาวชนโลกครั้งที่ 14 เยาวชนที่รัก ขอให้พวกเธอรับความรักที่พระเป็นเจ้าประทานให้ (1 ยอห์น 4:19) ยึดมั่นในความจริงข้อนี้ พระองค์แต่เพียงผู้เดียวที่จะให้ความหมาย พละกำลังและความยินดีแห่งชีวิต ความรักของพระองค์จะไม่จากพวกเธอไป พันธะสัญญาแห่งสันติของพระองค์จะไม่ถูกลบไปจากพวกเธอ (อิสยา 54 : 10) พระองค์ได้ประทับชื่อของเธอไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์ (อิสยา 49 : 16)
- ในส่วนลึกของหัวใจมนุษย์ มีความกระหายหาพระผู้เป็นเจ้า แม้ว่าบางครั้งจะไม่แสดงออกอย่างชัดเจนก็ตาม นักบุญอิกญาซิโอแห่งอันติโอก ได้กล่าวว่า “มีเสียงร้องในจิตใจข้าพเจ้าว่า “จงกลับมาหาพระบิดา” (Ad Room.7) และดังที่โมเสสได้ร้องบนภูเขาว่า “ข้าแต่พระเจ้าโปรดแสดงพระสิริของพระองค์” (อพยพ 33:38)
“ไม่มีใครเคยเห็นพระบิดา นอกจากพระบุตรผู้ซึ่งประทับอยู่ในอ้อมพระหัตถ์ของพระบิดา พระองค์ได้ทำให้พระบิดาเป็นที่รู้จัก (ยอห์น 1 : 18) ดังนั้นการรู้จักพระบุตรจะเป็นการเพียงพอหรือไม่ ที่จะรู้จักพระบิดา ? นักบุญฟิลิปไม่ได้เชื่อเช่นนั้น เพราะท่านได้ร้องขอ พระเยซูเจ้าว่า “โปรดไขแสดงพระบิดาให้แก่พวกเราด้วย” คำขอร้องของท่านนำคำตอบที่ไม่ได้คาดฝันจากพระเยซูเจ้า “ฟิลิปท่านอยู่กับเราเป็นเวลานานแล้ว และท่านยังไม่รู้จักเราอีกหรือ? ผู้ที่ได้เห็นเราก็ได้เห็นพระบิดา” (ยอห์น 14 : 9)
หลังจากการรับเอากายเป็นมนุษย์ของพระเยซูเจ้า เราสามารถมองเห็นพระผู้เป็นเจ้าโดยผ่านใบหน้ามนุษย์ “จงเชื่อเราเถิดว่า เราอยู่ในพระบิด และพระบิดาประทับอยู่ในเรา” (ยอห์น 14:11) พระเยซูเจ้าไม่ได้ตรัสเช่นนี้กับนักบุญฟิลิปเท่านั้นแต่กับทุกคนที่เชื่อ ดังนั้น “ผู้ที่ต้อนรับพระบุตรของพระเป็นเจ้า ก็ต้องรับผู้ที่ทรงส่งพระบุตรมา” (ยอห์น 13;20) ในทางตรงกันข้า “ผู้ที่เกลียดเราก็เกลียดพระบิดาด้วย” (ยอห์น 15:23) ดังนั้นจึงเกิดความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างพระผู้สร้างกับสิ่งสร้าง นั่นคือความสัมพันธ์ระหว่างบุตรกับบิดา เมื่อบรรดาสาวกต้องการเข้าไปในรหัสธรรมของพระผู้เป็นเจ้า ก็ได้ขอร้องให้พระเยซูเจ้าสอนให้พวกเขาสวดภาวนา พระองค์ทรงสอน “บทข้าแต่พระบิดา” ซึ่งเป็นบทสรุปของพระวรสาร (Tertulian, De oratione, 1) และนี่ก็เป็นการยืนยันว่าเราทั้งหลายเป็นบุตรชายหญิงของพระเป็นเจ้า (ลูกา 11 : 1-4) “ในบทข้าแต่พระบิดา พระบุตรได้ให้พระวาจาที่พรบิดาทรงมอบให้แก่พระองค์ พระองค์ทรงเป็นเจ้าแก่งการภาวนาของเรา และในฐานะที่เป็นพระวจนาถที่ทรงรับเอากาย พระองค์ทรงเข้าใจถึงความต้องการของพี่น้องชายหยิงที่เป็นมนุษยืด้วยกัน ดังนั้นพระองค์จึงได้ไขแสดงความต้องการดังกล่าวให้แก่เรา พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างแห่งการภาวนา (Catholic Church Catechism, 2765)
พระวรสารโดยนักบุญยอห์นซึ่งเป็นพยานถึงชีวิตของพระเยซูเจ้า ได้ชี้ทางที่จะนำเราไปรู้จักพระบิดา การร้องเรียกหาพระบิดาเป็นความลับ เป็นลมหายใจ และเป็นชีวิตของพระเยซูเจ้า พระองค์เป็นบุตรหัวปี เป็นที่รักของพระเป็นเจ้า และเป็นจะหมายปลายทางที่ทุกสิ่งทุกอย่างมุ่งหา ประทับอยู่กับพระบิดาตั้งแต่นิรันดรกาล และร่วมพระสิริรุ่งโรจน์ของพระบิดาเจ้า (ยอห์น 17 : 5) พระเยซูเจ้าทรงรับอำนาจเหนือทุกสิ่งทุกอย่างจากพระบิดาเจ้า (ยอห์น 17 : 2) เป็นข่าวดีที่จะต้องถูกประกาศ (ยอห์น 12 : 14) เป็นภารกิจที่จะต้องทำให้สำเร็จ (ยอห์น 14:31) บรรดาสาวกไม่ได้เป็นของพระบุตรแต่เป็นพระบิดาที่มอบเขาเหล่านั้นให้กับพระองค์ (ยอห์น 17:9) มอบหมายให้พระองค์ช่วยพวกเขาให้พ้นจากความชั่วร้าย เพื่อไม่ให้ใครคนใดคนหนึ่งในพวกเขาต้องพินาศไป (ยอห์น 18:9)
ในชั่วโมงที่พระองค์จะเสด็จจากโลกนี้กลับไปหาพระบิดา “คำภาวนาในฐานะสงฆ์ของพระองค์ เผยแสดงให้เราเห็นจิตใจของพระบุตร” พระบิดาเจ้าข้า ขอให้ลูกได้รับเกียรติเฉพาะพระพักต์พระองค์ เป็นเกียรติาอย่างเดียวที่เคยมีร่วมกับพระองค์ก่อนที่พระองค์จะทรงสร้างโลกนี้เถิด” (ยอห์น 17:5) ในฐานะที่เป็นสงฆ์สูงสุดและเป็นสงฆ์นิรันดร พระองค์ทรงเป็นต้นขบวนของผู้ที่ได้รับการไถ่ให้รอด เป็นบุตรหัวปีในบรรดาพี่น้อง พระองค์ทรงนำลูกแกะที่กระจัดกระจายกลับเข้าสู่ฝูง ทั้งนี้เพื่อจะได้มี “ฝูงชุมพาฝูงเดียวและนายชุมพาแต่เพียงผู้เดียว” (ยอห์น 10:16)
ขอบพระคุณสำหรับภารกิจของพระเยซูเจ้า ที่ทำให้สัมพันธภาพแห่งความรักในพระตรีเอกภาพ มาเป็นความสัมพันธ์ระหว่างพระบิดาและมนุษย์ชาติที่ได้รับการไถ่ให้รอด “พระบิดาทรงรักเธอ” เราจะเข้าใจรหัสธรรมรักนี้ได้อย่างไรโดยปราจากการกระทำของ องค์พระจิตเจ้า ที่หลั่งไหลออกมาจากพระบิดาเหนือบรรดาอัครสาวก ขอบคุณในคำภาวนาของพระเยซูเจ้า (เทียบ ยอห์น 14:16) การรับเอากายของพระวนาถผู้เป็นนิรันดร์ ในกาลเวลา และการเกิดในนิรันดรภาพของมนุษย์ผู้มีส่วนในพระองค์โดยอาศัยศีลล้างบาป ย่อมเป็นไปไม่ได้หากปราศจากการกระทำของพระจิตเจ้าองค์เดียวกัน
- “พระเจ้าทรงรักโลกยิ่งนักจึงได้ประทานพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ เพื่อทุกคนที่วางใจในพระองค์จะไม่ตายแต่มีชีวิตนิรันดร” (ยอห์น 3:16) โลกเป็นที่รักของพระผู้เป็นเจ้า แม้ว่าโลกจะพยายามปฏิเสธพระองค์ แต่พระองคืก็จะทรงรักโลกตลอดไปตราบชั่วนิรันดร “พระบิดาทรงรักเธอ” เสมอ และตลอดไป นี่เป็นสิ่งใหม่ที่โลกไม่เคยได้ยิน พระศาสนาจักรได้ประกาศรหัสธรรมที่ลึกซึ้งนี้แก่มวลมนุษยชาติ (เทียบ Christifideles Laici, 34) ถ้าพระเยซูเจ้าได้ประทานพระวาจานี้ให้แก่เราก็ถือว่าเป็นการเพียงพอแล้ว “ดูซิว่า พระบิดารักเรามากยิ่งนัก จนให้พวกเราได้ชื่อว่าเป็นบุตรของพระเจ้า แล้วเราก็เป็นดังนั้นจริงๆ” (1 ยอห์น 3:1) พวกเราไม่เป็นกำพร้าอีกต่อไป และความรักก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ดังที่วพวกเราทราบ เราจะไม่สามารถรักใครได้ถ้าเราไม่ได้รับความรักมาก่อน
พวกเราจะประกาศข่าวดีนี้ได้อย่างไร พระองค์ทรงชี้ทางให้ โดยการฟังพระบิดาเพื่อที่จะรับการสั่งสอนของพระองค์ (ยอห์น 6:45) โดยการปฏิบัติตามพระบัญญัติ (เทียบ ยอห์น 14:23) โดยวิธีนี้ความรู้เกี่ยวกับพระเป็นเจ้าจะเจริญงอกงาม “ลูกให้เขารู้จักพระองค์ และจะคงทำเช่นนี้อยู่เรื่อยไป” (ยอห์น 17:26) และองค์พระจิตเจ้าจะนำเราไปสู่ความจริงทั้งหมด (เทียบ ยอห์น 16:13)
ในปัจจุบันนี้ พระศาสนจักรและโลกต้องการธรรมทูตที่สามารถประกาศโดยวาจาและการเป็นพยานด้วยชีวิตถึงรหัสธรรมแห่งความรักนี้ เยาวชน และทุกคน แห่งสหัสวรรษใหม่นี้ ขอให้พวกเธอเยาวชนทั้งหลายได้เรียนรู้ เติบโตในโรงเรียนของพระเยซูเจ้าในพระศาสนจักร และในทุกสถานการณ์ของชีวิต ขอให้พวกเธอเยาวชนได้เป็นพยานที่เชื่อถือได้ถึงความรักของพระบิดา ทำให้ความรักนี้ปรากฎเด่นชัดในการเลือก ในท่าที ในวิถีชีวิต ในการต้อนรับเพื่อนพี่น้อง ในการรับใช้ซึ่งกันและกัน ในการปฏิบัติตามพระบัญญติและตามน้ำพระทัย พระเป็นเจ้า
“พระบิดาทรงรักเธอ” ความจริงอันน่าพิศวงนี้ ดังก้องอยู่ในหัวใจของผู้ที่มีความเชื่อ ดุจดังสาวกที่พระองค์ทรงรัก ผู้ซึ่งได้วางศีรษะแนบพระอุระของพระเยซูเจา และฟังพระวาจานี้ด้วยความตั้งใจ “ผู้ที่รักเราจะเป็นที่รักของพระบิดา และเราจะรักเขา และเผยตัวเราเองให้แก่เขา” (ยอห์น 14:13) เพราะ “นี่แหล่ะเป็นชีวิตนิรันดร เขาจะทราบว่าพระองค์เป็นพระเจ้าเที่ยงแท้ และรู้จักพระเยซูคริสตเจ้าผู้ที่พระองค์ทรงใช้มา” (ยอห์น 17:3)
รูปแบบแห่งความรักเยี่ยงพระบิดา ปรากฏในรูปแบบต่างๆ ที่เธอจะพบได้ในชีวิตประจำวัน ข้าพเจ้าคิดถึงบิดามารดาของพวกเธอเป็นพิเศษ ผู้ซึ่งได้ร่วมมือกับพระเป็นเจ้า ในการให้ชีวิตและดูแลพวกเธอ จงเคารพนับถือพวกเขา (เทียบ อพยพ 20 : 12) จงมีความกตัญญู รู้คุณท่าน ข้าพเจ้าคิดถึงบรรดาพระสงฆ์ และผู้ที่ได้ถวายตัวแด่พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเขาเหล่านี้เป็นเพื่อนเป็นพยาน เป็นครูแห่งชีวิต “ที่จะช่วยให้พวกเรคาก้าวหน้าในความยินดีและในความเชื่อ” (ฟิลิปปี 1:25) ข้าพเจ้าคิดถึงบรรดาครู อาจารย์ ที่ได้อุทิศตน โดยอาศัยชีวิต สติปัญญา ความเชื่อของพวกเขา ที่มีส่วนช่วยให้เธอได้เจริญก้าวหน้าในชีวิตคริสตชนและชีวิตมนุษย์ ขอให้เธอขอบคุณพระเป็นเจ้า สำหรับบุคคลที่มีคุณค่าและเดินเคียงข้างเธอในหนทางแห่งชีวิตนี้ - “พระบิดาทรงรักเธอ” ความสำนึกถึงความรักเป็นพิเศษจากพระผู้เป็นเจ้า ทำให้ผู้มีความเชื่อ “เจริญชีวิตในหนทางของพระเยซูเจ้าพระผู้ไถ่ของมนุษย์ชาติ ในเส้นทางแห่งการกลับใจที่แท้จริง และนี่เป็นเนื้อหาของการเห็นคุณค่าและความหมายอันลึกซึ้งของการเฉลิมฉลองศีลอภัยบาป” (tertio Millennio Adveniente, 50)
“บาปคือการละเมิดอิสรภาพที่พระเป็นเจ้าได้ประทานให้แก่มนุษย์ที่พระองค์ทรงสร้าง เพื่อพวกเขาจะสามารถรักพระองค์และรักผู้อื่น” (Catholic Church Catechism, 387) เป็นการปฏิเสธที่จะดำเนินชีวิตพระที่ได้รับในศีลล้างบาป ปฏิเสธความรักที่แท้จริงจากพระเป็นเจ้า มนุษย์มีอำนาจที่จะทำตนเองให้เป็นอุปสรรคต่อพระผู้เป็นเจ้าผู้ปรารถนาที่จะให้สิ่งดีๆ แก่มนุษย์ บาปซึ่งมีต้นกำเนิดจากอิสรภาพของมนุษย์ (เทียบ มาระโก 7:20) เป็นความล้มเหลวของความรักที่แท้จริง บาปทำลายธรรมชาติความเป็นมนุษย์ และทำร้ายเอกภาพของมนุษยืในท่าที วาจา และการกระทำที่จมดิ่งลงสู่การรักตนเองอย่างเห็นแก่ตัว (เทียบ Catholic Church Catechism, 1849-1850) อิสรภาพที่อยูในส่วนลึกของจิตใจของมนุษย์จะปิดตัวต่อความรัก และนี่ก็คือโศกนาฎกรรมของชีวิตมนุษย์ผู้ซึ่งเลือกที่จะเป็นทาส ปล่อยตัวอยู่ในความกลัว มีท่าทีที่ไม่ถูกต้อง สร้างปฏิมากร เพื่อครอบงำจิตใจตนและชักนำชีวิตให้ตกต่ำ พระวรสารโดยนักบุญยอห์น ได้กล่าวว่า “ทุกคนที่ทำบาปก็เป็นทาสของบาป” (ยอห์น 8:34)
พระเยซูเจ้าได้บอกกับทุกคนว่า “จงกลับใจและเชื่อพระวรสาร” (มาระโก 1:15) ณ จุดเริ่มต้นของการกลับใจที่แท้จริง พระเป็นเจ้าทรงทอดพระเนตรเหนือคนบาป พระองค์ทรงแสวงหาคนบาปด้วยความรัก ด้วยพระมหาทรมาร และการสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน ความปรารถนาที่จะให้อภัย แม้ว่ามนุษย์จะตกในบาปหยาบช้าอย่างไรก็ตาม พระองค์ยังทรงรักและให้เกียรติมนุษย์เสมอ นี่เป็นการเรียกร้องให้มนุษย์ได้เปลี่ยนชีวิต ดังเช่นกรณีของเลวี (เทียบ มาระโก 2:13-17) ศักเคียส (เทียบ ลูกา 19:1-10) หญิงที่ถูกจับผิดประเวณี (เทียบ ยอห์น 8:1-11) โจร (เทียบ ลูกา 23:39-43) หญิงชาวสะมาเรีย (เทียบ ยอห์น 4:1-30) “มนุษย์ไม่สามารถดำเนินชีวิตโดยปราจากความรัก เพราะมื่อปราศจากความรักและหากเขาไม่เคยสัมผัสกับความรัก หากความรักไม่เป็นชีวิตของเขา มนุษย์จะไม่สามารถเข้าใจตนเอง ชีวิตของเขาจึงไร้ความหมาย (Redemptor Hominis, 10) มนุษย์ผู้ซึ่งได้ค้นพบและประสบกับความรัก ความเมตตา และการอภัยของพระเป็นเจ้า จะดำเนินชีวิตในการกลับใจเข้าหาพระองค์ตลอดไป (เทียบ Dives in Misericordia, 13)
“ไปเถิด แล้วอย่าทำบาปอีก” (ยอห์น 8:11) พระองค์ประทานการอภัยให้ปราศจากเงื่อนไขใดๆ แต่มนุษย์ก็ได้รับเชิญให้ตอบสนองด้วยการเปลี่ยนแปลงชีวิตอย่างจริงจัง พระเป็นเจ้าทรงทราบถึงผู้ที่พระองค์ทรงสร้างอย่างแท้จริง พระองค์ทรงทราบวา ความรักอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ ในที่สุดแล้วจะทำให้มนุษย์เกลียดชังบาป ดังนั้นพระองค์จึงทรงให้อภัยบาปอย่างต่อเนื่อง
นิทานเปรียบเทียบเรื่องลูกล้างผลาญแสดงให้เห็นถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจน นับตั้งแต่วินาทีที่ ลูกคนเล็กออกจากบ้าน ผู้เป็นบิดาก็ตกอยู่ในความกังวล รอคอยด้วยความหวัง มองไปสุดขอบฟ้า บิดาเคารพในอิสรภาพของลูก แต่ผู้เป็นบิดาก็ต้องทนทรมาน และเมื่อผู้เป็นบุตรได้ตัดสินใจที่จะกลับบ้าน ผู้เป็นบิดาเห็นเขาแต่ไกล ก็วิ่งออกไปต้อนรับ กอด จูบ ด้วยความยินดี และให้คำสั่งแก่คนใช้ว่า “เอาแหวนใส่นิ้วเครื่องหมายแห่งพันธะสัญญา เอาเสื้อผ้าชุดที่ดีที่สุดมาสวมใส่เครื่องหมายแห่งชีวิตใหม่ เอารองเท้ามาสวมใส่เครื่องหมายแห่งศักดิ์ศรี และให้เราเฉลิมฉลองกัน เพราะลูกชายคนนี้ได้ตายจากไปแล้ว แต่กลับมีชีวิตใหม่เขาได้หายไปแล้ว แต่บัดนี้ กลับได้พบอีก” (เทียบ ลูกา 15:11-32) - ก่อนที่พระองค์จะเสด็จขึ้นสวรรค์ไปหาพระบิด พระเยซูเจ้าได้ประทานภารกิจแห่งการคืนดีให้กับพระศาสนาจักร (เทียบ ยอห์น 20:23) ดังนั้นการเป็นทุกข์ถึงบาปภายในส่วนตัวจึงไม่เป็นการเพียงพอที่จะได้รับการอภัยจากพระเป็นเจ้า การคืนดีกับพระเป็นเจ้าจะต้องเป็นการคืนดีโดยฝ่ายทางพระศาสนาจักร ดังนั้นการยอมรับถึงบาปที่ได้กระทำนั้น จะต้องกระทำในรูปแบบที่พระศาสนาจักรกำหนด การเป็นทุกข์ถึงบาปและการสารภาพบาป ด้วยความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตของตนเองจะต้องกระทำต่อหน้าศาสนบริกรของพระศาสนาจักร
ทุกวันนี้ เป็นที่น่าเสียดายที่คนส่วนใหญ่ได้สูญเสียความรู้สึกแห่งบาป จึงทำให้การสารภาพบาปลดน้อยลงไปด้วย นี่เป็นสาเหตุของปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันนี้ ปีนี้ข้าพเจ้าของเชิญชวนท่านทั้งหลาย ให้พยายามค้นพบความมั่นคั่งและความน่าพิศวงของศีลอภัยบาป โดยการศึกษาอย่างจริงจังและอย่างลึกซึ้งในนิทานเปรียบเทียบเรื่องลูก ล้างผลาญ โดยที่จุดเน้นไม่ใช่อยู่ที่ตัวบาป แต่เป็นความเมตตาอันน่าพิศวงของพระเป็นเจ้า รับฟังพระวาจาของพระเป็นเจ้าด้วยท่าทีของการภาวนา รำพึง ไตร่ตรอง และพูดกับ พระเป็นเจ้าด้วยความมั่นใจว่า “ลูกต้องการพระองค์ ลูกต้องการพระองค์เพื่อที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป พระองค์ทรงอยู่เหนือบาปของลูก ลูกเชื่อในอำนาจของพระองค์ที่ครอบคลุมลูก ลูกเชื่อว่าพระองค์จะทรงช่วยลูกให้รอดแม้ว่าลูกจะเป็นอยู่อย่างปัจจุบันนี้ ข้าแต่พระเจ้าโปรดระลึกถึงลูก โปรดช่วยลูกด้วย
จงพิจารณาตัวเองจากภายใจ บาปไม่ใช่เป็นเพียงการละเมิดต่อพระบัญญัติหรือต่อกฎศีลธรรม ก่อนอื่นหมดบาปเป็นการผิดต่อพระเป็นเจ้า (เทียบ สดุดี 50:6) เป็นการผิดต่อ พี่น้องชายหญิง และเป็นการผิดต่อตนเอง จงตั้งตัวเองอยู่ต่อพระพักตร์พระเยซูเจ้า พระบุตรแต่องค์เดียวของพระเป็นเจ้า ผู้เป็นแบบอย่างของพี่น้องชายหญิงทั้งหลาย พระองค์แต่เพียงผู้เดียวที่จะแสดงให้เห็นว่าเราควรจะเป็นอย่างไรในความสัมพันธ์กับพระเป็นเจ้า กับเพื่อนบ้าน กับสังคม และเพื่อที่จะอยู่อย่างสันติกับตนเอง พระองค์ทรงแสดงให้เห็นถึงสิ่งเหล่านี้โดยทางพระวรสาร ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวกันกับพระเยซูคริสตเจ้า การซื่อสัตย์ต่อตนเองจะเป็นเครื่องวัดความซื่อสัตย์ที่มีต่อผู้อื่น
จงเข้าพึ่งพาศีลอภัยบาปอย่างจริงใจ อาศัยการสารภาพบาป เธอจะแสดงให้เห็นว่าเธอได้ยอมรับการไม่ซื่อสัตย์ และต้องการที่จะยุติการไม่ซื่อสัตย์นั้นๆ เธอได้ยอมรับว่า ต้องการการกลับใจและการคืนดี เพื่อที่พบกับสันติสุขและบังเกิดผลอย่างเต็มเปี่ยมในฐานะที่เป็นบุตรของพระเป็นเจ้าในองค์พระเยซูคริสตเจ้า และเป็นหนึ่งเดียวกับพี่น้องที่ต้องต่อสู้กับบาปเช่นเดียวกัน (เทียบ Catholic Catechism, 1445)
ที่สุดจงรับการอภัยบาปจากพระสงฆ์ด้วยความยินดี เวลานั้นเป็นเวลาที่พระบิดาผู้ใจดีจะตรัสกับคนบาปที่กลับใจถึงพระวาจาทรงชีวิตว่า “ลูกของฉันกลับมีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง” ท่อธารแห่งชีวิตได้ให้พละกำลังและความกล้าหาญที่จะเอาชนะความเห็นแก่ตัว และสามารถที่จะรักอย่างจริงใจอีกครั้งหนึ่ง
- “ท่านต้องรักพระเป็นเจ้าของท่านอย่างหมดจิตหมดใจ นี่แหละเป็นธรรมบัญญัติข้อที่ยิ่งใหญ่ที่สุด บัญญัติข้อที่สำคัญรองลงมาก็คือ ท่าจจะต้องรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง ธรรมบัญญัติและคำของผู้เผยพระวจนะทั้งสิ้นขึ้นอยู่กับพระบัญญัติสองข้อนี้” (มัทธิว 22:37-40) พระเยซูเจ้าไม่ได้บอกว่าพระบัญญัติประการที่สองเหมือนกับพระบัญญัติประการแรกแต่ว่า “คล้ายกัน” ดังนั้นพระบัญญัติสองประการนี้จึงแทนที่กันไม่ได้ เราจะทดแทนการรักพระเป็นเจ้าด้วยการรักเพื่อนมนุษย์ไม่ได้ หรือในทางตรงกันข้าม พระบัญญัติสองประการนี้มีความสำคัญต่างกัน ดังนั้นจึงต้องปฏิบัติทั้งสองประการ พระเยซูเจ้าได้นำพระบัญญิติสองประการนี้มาคู่กัน เพื่อที่จะทำให้ความหมายเด่นชัดขึ้นว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด เป็นไปไม่ได้ที่จะปฏิบัติข้อหนึ่งและละเลยอีกข้อหนึ่ง “พระเยซูเจ้าได้ยืนยันถึงเอกภาพที่แตกแยกไม่ได้ของพระบัญญัติสองประการนี้ ในพระวาจา ในชีวิต ในภาระกิจ ซึ่งรวบยอดในการสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน เครื่องหมายแห่งความรักที่แบ่งแยกไม่ได้ต่อพระเป็นเจ้าและต่อมนุษญยชาติ” (Veritatis Splendor, 14)
เพื่อที่จะรู้ว่าเรารักพระเป็นเจ้าจริงหรือไม่ เราต้องสำรวจว่าเรารักเพื่อนมนุษย์อย่างจริงจังเพียงใด และถ้าเราอยากจะตรวจสอบคุณภาพของความรักที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ เราต้องถามตนเองว่า เรารักพระเป็นเจ้ามากเพียงใด เพราะว่า “เขาจะรักพระเจ้าที่เขามองไม่เห็นได้อย่างไร ถ้าเขาไม่รักพี่น้องที่มองเห็นได้” (1 ยอห์น 4:20) และ “เรารู้ได้ว่า เรารักบรรดาบุตรของพระเจ้า ก็เพราะเรารักพระเจ้าและเชื่อฟังคำสั่งของพระองค์” (1 ยอห์น 5:2)
ในพระสมณสาร Tertio Millennio Advenicnte, ข้าพเจ้าได้เชิญชวนให้คริสตชนทุกคนได้ “เลือกและเน้นถึงภารกิจแรกของพระศาสนจักรที่มีต่อคนยากจน และผู้ที่สังคมทอดทิ้งก่อน” (n. 51) เป็นการเลือในลำดับความสำคัญไม่ใช่เป็นการเลือกเฉพาะ พระเยซูเจ้าได้เชิญชวนให้เรารักคนยากจนเพราะว่าพวกเขาเป็นผู้เปราะบาง ดังนั้นจึงต้องให้ความห่วงใยเป็นพิเศษ และเป็นที่ชัดเจนว่า คนยากจนเหล่านี้เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่ในประเทศร่ำรวย ทั้ง ๆ ที่ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียนมกันในการครอบครองสิ่งต่าง ๆ ความยากจนในทุกสถานการณ์เป็นการท้าทายให้คริสตชนทุกคนแสดงความรักเมตตา ความรักเมตตาดังกล่าวนี้จะต้องเป็นพันธะทางสังคมและการเมือง ทั้งนี้เป็นเพราะว่าปัญหาความยากจนในโลกเป็นสถานการณ์จริง ที่จะต้องแก้ไขโดยที่พี่น้องชายหญิงที่มีน้ำใจดี ผู้ก่อสร้างวัฒนธรรมแห่งความรัก เราไม่สามารถทำลายโครงสร้างของบาป โดยปราศจากความร่วมมือของทุกคนที่พร้อมจะ “สละตนเอง” เพื่อผู้อื่น ที่จะยินดี “รับใช้” ผู้อื่นมากกว่าที่จะเอารัดเอเปรียบผู้อื่น (เทียบ Sollicitudo Rei Socialis, 38)
เยาวชนที่รัก ข้าพเจ้าขอเชิญชวนพวกเธอให้ทำการริเริ่มอย่างจริงจังในความเป็นหนึ่งเดียวและแบ่งปันกับคนที่ยากจน สุด ร่วมในกิจกรรมหรือโครงการใดโครงการหนึ่งที่เกี่ยวกับ คนยากจนในที่ใดที่หนึ่งอย่างจริงใจ นี่เป็นวิธีที่จะถวายคืนแด่พระผู้เป็นเจ้าในตัวบุคคลของคนยากจนด้วยสิ่งของต่างๆ ที่พระเป็นเจ้าได้ประทานให้แก่เธอผู้ซึ่งโชคดีกว่าเขาเหล่านั่น และนี่ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่เป็นการแสดงออกอย่างเห์นได้ชัดถึงการเลือกเส้นทางเข้าหา พระเจ้าและเข้าหาผู้อื่น
- พระแม่มารีอาได้สรุปถึงรหัสธรรมของพระศาสนจักรในชีวิตของพระนาง พระนางเป็น “บุตรีที่พระบิดาทรงโปรดปราน” (Tertio Millennio Adveniente, 54) ผู้ซึ่งพร้อมที่จะรับและตอบสนองพระพรแห่งการเป็น “บุตรี” ของพระบิดาเจ้าและยอมรับที่จะเป็นพระมารดาของพระบุตร “จงเป็นไปกับข้าพเจ้าตามวาทะของท่าน” (ลูกา 1:13) พระนางเป็นมารดาของ พระเจ้า เพราะพระนางเป็นบุตรีที่สมบูรณ์แบบของพระบิดา
ในพระหทัยของพระนาง ไม่มีความปรารถนาอื่นใดนอกจากที่จะช่วยคริสตชนให้ซื่อสัตย์ต่อพันธะหน้าที่ที่จะดำเนินชีวิตเป็นบุตรของพระเจ้า ในฐานะที่เป็นมารดาผู้มีใจอ่อนหวาน พระนางทรงนำมนุษย์ไปหาพระเยซูเจ้า ในการติดตามพระองค์พวกเขาจะได้เรียนรู้และพัฒนาความสัมพันธ์กับพระบิดาเจ้าในสวรรค์ ดุจเดียวกับที่งานแต่งงานที่กานา พระนางได้เชิญชวนมนุษย์ให้กระทำตามที่พระองค์ทรงบอก (เทียบ ยอห์น 2:5) เพระาพระนางทรงทราบว่านี่เป็นหนทางที่จะกลับสู่บ้าน “พระบิดาผู้ทรงเมตตา” (เทียบ 2 โครินธ์ 1:3)
งานวันเยาวชนโลกครั้งที่ 14 ที่พวกเธอจะเฉลิมฉลองตามวัดต่าง ๆ ในท้องถิ่น จะเป็นการเฉลิมฉลองครั้งสุดท้ายก่อนการนัดพบที่น่ายินดีและยิ่งใหญ่ มีความสำคัญต่อการเตรียมตัวสู่ปีปีติมหาการุญ ข้าพเจ้าภาวนาให้พวกเธอแต่ละคน เพื่อให้โอกาสนี้เป็นการรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับพระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งชีวิตและพระศาสนจักรของพระองค์
ข้าพเจ้าขอฝากการเดินทางนี้กับพระมารดา ข้าพเจ้าวอนขอพระนามโปรดให้จิตใจขิงพวกเธอพร้อมที่จะรับพระหรรษทานจากพระบิดา เพื่อพวกเธอจะได้เป็นพยานถึงความรักของพระองค์
ด้วยความยินดี ข้าพเจ้าขอให้ปีนี้เป็นปีที่มั่งคั่งด้วยความเชื่อ และการอุทิสตนในหนทาง แห่งพระวรสาร ข้าพเจ้าจึงขออวยพรพวเธอทุกคนจากใจจริง
จากนครวาติกัน 6 มกราคม 1999 สมโภชวันพระคริสต์แสดงองค์
ยอห์น ปอน ที่ 2
แปลโดย
คุณพ่อมีคาแอล อดุลย์เกษม และคณะกรรมการฝ่ายงานธรรมทูตซาเลเซียนเพื่อสภาเยาวชนฯ