ศาสนสัมพันธ์ ตอนที่ 5
คำสอน 5 ศาสนา และความสำคัญในการทำศาสนสัมพันธ์
เขียนโดย วรินทร เหมะ
อย่าทำตนเป็นที่สะดุดต่อศาสนิกชนอื่น ๆ และสำนึกว่าการเข้าไปมีส่วนร่วมกิจกรรมกับศาสนาอื่น ๆ “ไม่” เป็นอุปสรรคและสามารถปฏิบัติได้ แต่ถ้าคิดว่าหากตนเข้าไปทำแล้วจะก่อให้เกิดการสะดุด และขัดต่อหลักปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันไม่ควรปฏิบัติ
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจหลักคำสอนของศาสนาต่างๆ ว่าเน้นในด้านใดบ้าง?
คำสอน 5 ศาสนา เน้นในเรื่องใดเป็นพิเศษ
- ศาสนาพุทธ เน้น ความเมตตา
- ศาสนาอิสลาม เน้น การสร้างสันติ
- ศาสนาคริสต์ เน้น ความรัก
- ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เน้น การไม่ทำลายหรือทำร้ายสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
- ศาสนาซิกข์ เน้น หลักแห่งความเป็นจริง
จุดประสงค์ของศาสนสัมพันธ์
- ไม่ใช่ การโน้มนำให้เปลี่ยนความเชื่อ
- ไม่ใช่ การโต้เถียงเพื่อเอาชนะ
- ไม่ใช่ การรวมศาสนา
* แต่เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างมิตรภาพ (พันธมิตร) และอยู่ร่วมกันได้อย่างมีสันติ
หลักการของศาสนสัมพันธ์ “หนึ่งเดียวในความแตกต่าง” (Unity In Diversity)
เงื่อนไขสำคัญ เคารพ จริงใจ เท่าเทียมกัน
ศาสนสัมพันธ์เป็นอะไร?
- เป็นกระบวนการพูดและการฟัง การให้และการรับ แสวงหาและแบ่งปัน
- เป็นการเปิดตนเองรับรู้ประสบการณ์ทางศาสนาของผู้อื่น และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางศาสนา
- จะไม่พูดถึงเนื้อหาแท้ ๆ ของคำสอนทางศาสนา
- อยู่บนพื้นฐานของความเท่าเสมอกัน
- อยู่บนพื้นฐานของความจริงใจและวางใจ
- ยอมรับความจริงในความผิดบกพร่องของตนเอง และของศาสนิกในศาสนาของตนทั้งในอดีตและปัจจุบัน
- เป็นพยานถึงศาสนาของตนด้วยความเชื่อมั่นและยึดมั่นในขนบประเพณีของตน
- ต้องแสดงออกด้วยความเคารพ สุภาพ ซื่อตรง มีไมตรีจิตต่อกัน
- มีแรงจูงใจทำการเสวนาที่มาจากความรักตามคำสอนของศาสนา
- ส่งเสริมความเข้าใจและสัมพันธภาพ ความปรองดอง การเป็นเพื่อน ความร่วมมือกัน และสันติ
เมื่อเรารู้หลักคำสอนของแต่ละศาสนาแล้ว เราจึงเกิดความรู้ความเข้าใจและนำไปปฏิบัติในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างมิตรภาพ (พันธมิตร) และอยู่ร่วมกันได้อย่างมีสันติ โดยใช้กระบวนการทำศาสนสัมพันธ์ โดยใช้หลักการ“หนึ่งเดียวในความแตกต่าง” (Unity In Diversity) โดยใช้ เงื่อนไขที่สำคัญ คือ เคารพ จริงใจ เท่าเทียมกัน สิ่งที่ควรจดจำคือ เราไม่ได้เปลี่ยนแปลงความเชื่อใคร และเราไม่ได้เอาชนะกัน แต่เรามาร่วมสร้างสัมพันธ์และสันติให้เกิดขึ้นในชุมชน สังคม และประเทศชาติของเรา